top of page
Writer's pictureLadda Kongdach

Hari Raya ฮารีรายอ Directed By Nasrey La.

Review by ธีรภัทร โลหนันทน์

Cr. Yadamin Jamsuksai

​(ข้อมูล) ​ฮารีรายอเป็นวันฉลองการสิ้นสุดเดือนรอมฎอนอันศักดิ์สิทธิ์ของศาสนาอิสลามคือวันตรุษอีด (Eid) วันฮารีรายอจะเริ่มต้นด้วยการไปมัสยิด ซึ่งจะมีการสวดมนต์ด้วยบทสวดพิเศษสำหรับวันสำคัญนี้ หลังจากนั้นจึงเดินทางไปเยี่ยมพ่อแม่ โดยตามธรรมเนียมดั้งเดิม ชาวมุสลิมจะกล่าวขออภัยจากผู้ที่อาวุโสกว่าเพื่อให้ยกโทษในสิ่งที่ตนได้กระทำผิดไปในรอบปีที่ผ่านมา จากนั้นจึงค่อยเดินสายไปเยี่ยมญาติสนิทมิตรสหาย ซึ่งมีการเตรียมอาหารการกินเอาไว้ต้อนรับแขก

​...

​เรื่องเล่าวิถีชีวิตผ่านมุมมองเด็กหนุ่มกรุงเทพเชื้อสายไทยมุสลิม ที่กลับบ้านเพื่ออยู่ร่วมกับครอบครัวในวันฮารีรายอ ณ สถานที่ที่เป็นเส้นแบ่งเขตชายแดนไทย – มาเลเซีย

​ละครเป็นไปในรูปแบบของ Reader’s Theatre  

นักแสดง 3 คน ในห้องสี่เหลี่ยมที่จัดคนดูให้นั่งล้อมรอบการแสดง 

นักแสดงเล่นเป็นคนเล่าเรื่องประกอบกับเล่นเป็นตัวละครคนละหนึ่งตัว(ไม่มีการเปลี่ยนคาแรคเตอร์รหว่างเล่น) 

บทเต็มไปด้วยกลิ่นอายของบรรยากาศชาวมุสลิมที่อาศัยอยู่ในเขตชายแดน มีทั้งการใช้ภาษามลายู การพูดติดสำเนียงใต้ (ทองแดง) การใช้คำศัพย์บางคำในการเรียกพี่ป้าน้าอาซึ่งเป็นภาษาของชาวมุสลิม

​ข้อขัดแย้งหลักในเรื่องก็คือ ความสัมพันธ์ของเด็กหนุ่มรุ่นใหม่ที่ได้หนีออกจากบ้านเข้าไปอยู่ในเมืองกรุง และต้องกลับมาบ้านมาพบกับมะ(แม่) ที่ซึ่งเต็มไปด้วยความเชื่อของชาวมุสลิม ภาษา วัฒนธรรมอันโบราณคร่ำครึ วนเวียนอบอวลอยู่ในที่แห่งนั้น 

กับญาติลูกพี่ลูกน้องของเขา(ที่เขาเรียกว่า แบ)เป็นเด็กในพื้นที่ ถูกหล่อหลอมมาด้วยวัฒนธรรมพื้นถิ่นที่นั่น เต็มเปี่ยมไปด้วยความศรัทธาในศาสนา ไม่ได้รับการศึกษาเพราะเกเร และที่บ้านอยู่กันด้วยความยากจน

​...

​โดยส่วนตัวของผู้เขียนแล้ว รู้สึกว่าละครเรื่องนี้เป็นเสมือนเรื่องเล่าความเป็นไปของวิถีชีวิตผู้คน ณ ที่แห่งนั้นมากกว่าความเป็นโครงสร้างของบทละคร ที่ผู้กำกับต้องการจะถ่ายทอดให้ผู้ชมได้มารับฟังรับชม และเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตของพวกเขาเหล่านั้น 

ทั้งปัญหาที่เกิดจากข้อขัดแย้งกันในชายแดนภาคใต้ ทั้งความเชื่อที่มีมาแต่เนิ่นนานที่พวกเขาใช้ชีวิตอยู๋กันมา ปัญหาการกินอยู่ การค้ายา ความสัมพันธ์ภายในครอบครัว ความฝันของแม่และความฝันของลูก... 

สิ่งเหล่านี้มันหมุนเวียนอยู่รอบตัวของเราในทุกๆวัน ถูกขับเคลื่อนด้วยกลุ่มคนบางกลุ่มที่อาจจะเป็นได้ทั้งคนใกล้ตัวของเรา หรือคนไกลตัวเรา เพียงแต่เราไม่เคยจะหันไปมองหรือให้ความสนใจกับมันอย่างจริงๆจังๆกันเลย 

bottom of page