top of page
Writer's pictureLadda Kongdach

ก็เพราะว่าฉันนั้นคือ “ผู้หญิง” ที่ไม่อาจเปิดเผยความจริงข้างใน | We Women // : Trigger Warning

โดย สิรภพ แสงฉาย 

“นี่คือความเศร้าที่เล่าไม่ได้ แต่สื่อออกมาได้เฉียบขาด ของ Aastha Gandhi ผู้ออกแบบท่าเต้นชาวอินเดีย ที่ใช้ร่างกายของเธอเล่าความอัดอั้นของผู้หญิงในประเทศเกิดของเธอ” 

การแสดง We Women // : Trigger Warning เแสดงในรูปแบบ Solo Performance แบบผสมสานศิลปะการเคลื่อนไหว เข้ากับสื่อวิดีโอ โดยความเก๋อยู่ที่ผู้แสดง สามารถเคลื่อนไหวได้เป็นหนึ่งเดียวกับภาพวิดีโอ และคอยโต้ตอบกับมันอย่างมีชีวิต โดยการแสดงของคุณ Aastha Gandhi จะแบ่งออกเป็น 5 ช่วงใหญ่ๆด้วยกัน “นมและอารมณ์” - การเคลื่อนไหวที่ดูยั่วยวน แต่เต็มไปด้วยความบิดเบี้ยว แลดูไม่สมมาตร มีความซ้ำไปซ้ำมาที่เป็นปริศนา สื่อถึงความเจ็บปวดที่เคยชินที่เธอต้องพบในแต่ละวัน ด้วยความไม่เข้าใจ “ก็ Feminist ได้ประมาณนึง” - ช่วงนี้จะเล่าถึงความขบถในความคิดของเธอ โดยเสียดสีออกผ่านการแสร้งมีความสุขราวกับอยู่ในทุ่งลาเวนเดอร์ แสร้งทำตัวเป็นผู้หญิงในกรอบสังคมที่บอบบาง แต่ลึกๆแล้วเธอไม่ได้ต้องการเช่นนั้น “ทดเวลาบาดเจ็บ” - ช่วงพักดมยาหม่อง ว่าด้วยเรื่องช่วงเวลาที่เธออยุ่กับตัวเอง มีตัวเองเป็นที่พึ่ง และพยายามเยียวยาตัวเอง “ชีวิตของฉัน เกมของฉัน” - ช่วงที่มีการนำสื่อสมัยใหม่อย่างเกม และโปแกรมแชทมาผสมผสานกัน เล่าความพยายามเอาชนะความไม่เทียมที่โชคชะตาขีดให้ (อย่างทุลักทุเล) “ตั้งแต่จำความได้” - ช่วงสุดท้ายนี้ ผู้แสดงสรุปความน่าสะเทือนใจของการเกิดมาเป็นผู้หญิงอินเดียตั้งแต่จำความได้ จนเกิดเป็นวัฏจักรที่พบเห็นกันในทุกวัน อย่างที่ทราบกันดีว่าประเทศอินเดีย จัดเป็นประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำทางเพศสูงที่สุดในโลก แม้ว่าโลกจะเปลี่ยนแปลงไป แต่การแบ่งวรรณะ และกดขี่เพศหญิง ยังคงพบเห็นอยู่ในทุกวันนี้ การแสดงของ Aastha Gandhi เหมือนกำลังบอกอะไรคนดูบางอย่าง และตั้งคำถามกับคนดูว่า “จริงๆแล้วคุณเห็นมันเป็นความเคยชินไหม?” ใครคนไหนที่อยากฟังเรื่องราวจากความทรงจำและร่างกายของเธอ We Women // : Trigger Warning ยังเหลือการแสดงอีก 2 รอบ (พฤหัสบดี 16 พ.ย. 2017 เวลา 18:00 น. และ ศุกร์ 17 พ.ย. 2017 เวลา 16:00 น.) เชียร์ให้ดู ไม่ควรพลาดอย่างยิ่ง (ผู้หญิงดูได้ ผู้ชายอยากให้ดู)

bottom of page